หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าและบริการ
ปั๊มลมแบบลูกสูบ
ปั๊มลมระบบสกรู
เครื่องทำลมแห้ง
เครื่องอัดแก๊สและไนโตรเจน
Inovance inverter
โบรชัวร์
ติดต่อเรา
เรื่องน่ารู้...ปั๊มลม
ขอใบเสนอราคา
1 August 2022
ความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู
เครื่องอัดลม
แบบลูกสูบ ชุดอัดอากาศประกอบด้วยลูกสูบและแหวนลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นลงโดยเพลาข้อเหวี่ยงเพื่ออัดอากาศ ข้อเสียคือ แหวนลูกสูบต้องเสียดสีกับเสื้อสูบตลอดเวลา ดังนั้นการเสียดสีนี้จึงส่งผลเสียทำให้เครื่องอัดลมมีอุณหภูมิสูง เสียงดัง การสึกหรอสูง ไม่สามารถเดินเครื่องใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือใช้งานหนัก ๆ ได้ ส่วน
เครื่องอัดลม
เเบบสกรูหรือ
ปั๊มลมสกรู
ก็ประกอบด้วยสกรูตัวผู้กับตัวเมียหมุนเข้าหากัน เพื่อรีดลมให้ได้ลมอัดแต่ไม่มีอะไรเสียดสีกันเลย ข้อดีคือ เสียงเงียบ สามารถเดินเครื่องใช้งานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงและเครื่องอัดลมแบบสกรูนี้สามารถทำลมได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ 15 – 20 % ได้ลมเยอะกว่า ช่วยเรื่องพลังงานได้ด้วย โดยเปรียบเทียบตัวอย่างคือ ขนาดมอเตอร์ที่เท่ากัน (แรงม้า) ของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู เช่น มอเตอร์ขนาด 50 แรงม้าเหมือนกัน เครื่องอัดลมแบบสกรูจะทำลมได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ 15 – 20 % และการใช้งานระบบการ Start เปิด-ปิด ของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบจะเป็นแบบ Direct Online คือ มีแม็คเนติกตัวเดียว เมื่อสตาร์ทคือสตาร์ทเลย ทำให้มอเตอร์กระชากกระแสจะกินกระแสสูงในตอนสตาร์ท แต่ถ้าเป็นเครื่องอัดลมแบบสกรู การ Start จะเป็นแบบ Start-Delta ซึ่งจะมีแม็คเนติก 3 ตัวช่วยเรื่องการกระชากของกระแสได้ตรงนี้ ทำให้เห็นได้ว่าแค่ช่วง Start อย่างเดียว เครื่องอัดลมแบบสกรูก็ประหยัดไฟได้มากกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ
แล้วส่วนการประหยัดพลังงานในส่วนอื่น ๆ สำหรับเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ การทำงานคือสมมุติเราสตาร์ทเครื่องปั้ง เครื่องอัดลมจะทำแรงดันตั้งแต่ 0 – 8 บาร์ มันก็จะปั้งๆๆๆๆๆ ไปถึง 8 บาร์ และมอเตอร์ก็จะหยุดทำงาน พอเราตั้งแรงดันไว้ที่ 5 บาร์ พอตกมาถึง 5 บาร์ปุ๊ป มอเตอร์ก็จะสตาร์ทใหม่ การทำงานจะเป็นแบบนี้คือมอเตอร์จะ Start– Stop ทั้งวันเลย ทำให้กินไฟจังหวะกระชากตอนสตาร์ทกินไฟทั้งวันตลอดเวลาการใช้งาน
ส่วนการทำงานของเครื่องอัดลมแบบสกรูหรือ
ปั๊มลมสกรู
เวลา Start ปุ๊ปก็จะทำลมไปถึง 8 บาร์ ก็จะเข้าสู่ภาวะ Unload คือวาล์วปิด พอวาล์วปิดปุ๊ปเครื่องไม่ทำลม แรงดัน (Pressure) ก็จะตกลงเรื่อย ๆ เมื่อมีการใช้งาน พอถึง 6 บาร์ที่เราตั้งไว้ก็จะเข้าสู่สภาวะโหลดอีกครั้ง วาล์วก็จะเปิด หลักการทำงานก็จะวนไปแบบนี้ คือ Load – Unload มอเตอร์จะไม่หยุดไม่เหมือนกับการงานของเครื่องอัดลมแบบลูกสูบลูกสูบคือมอเตอร์หยุด หยุดปุ๊ปพอลมตกต้องสตาร์ทอันนั้คือ Start - Stop แต่ถ้าเป็นแบบสกรูจะเป็น Load – Unload แต่กรณีที่ไม่ได้ใช้ลมเยอะอยู่ในสภาวะUnload นาน Unload นานเกิน 10 นาทีเครื่องก็จะตัดดับเป็น Autostop แต่พอแรงดัน (Pressure) ตกลงมาถึง 6 บาร์ เครื่องก็จะ Autostart ขึ้นไปใหม่
คุณภาพลมที่ได้เปรียบเทียบกันระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรูต่างกันมาก นั่นคือแบบลุกสูบนั้นเมื่อผลิตลมได้ก็ส่งออกไปเลย ไม่มีระบบฟิลเตอร์กรอง ไม่มีคูลเลอร์ ลมที่ออกไปจึงมีสิ่งเจือปนตามไปด้วยรวมถึงความร้อน แต่เครื่องอัดลมแบบสกรูจะมีฟิลเตอร์ถึง 3 ตัวคือ
1. Air Filter
เป็นตัวกรองฝุ่นละอองสิ่งสกปรกขั้นตอนแรกขณะดูดลมก่อนเข้าเครื่อง
2. Oil Seprator
เป็นตัวแยกน้ำมันออกจากลม
3. Oil Filter
เป็นตัวกรองน้ำมัน ไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในชุดสกรู
ซึ่งฟิลเตอร์ทั้ง 3 ตัวนี้ จะช่วยในการดักฝุ่นละอองและดักน้ำมันให้ไปกับลมน้อยที่สุด เครื่องอัดลมแบบสกรูจึงมีน้ำมันปนไปกับลมน้อยกว่า และที่ดีกว่าคือมีคูลเลอร์ (Cooler) ระบายความร้อนอยู่ในตัวเครื่องอุณหภูมิที่ได้จากเครื่องอัดลมแบบสกรู อุณหภูมิจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะเย็นกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 70 องศาเซลเซียสจะร้อนกว่ามาก แน่นอนเมื่อมีความร้อน ความชื้นก็ตามมา ก็จะเกิดน้ำปนไปกับลมได้มากกว่า สรุปได้คือเครื่องอัดลมแบบสกรูน้ำที่ปนไปกับลมจะน้อยกว่าเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและลมที่ได้สะอาดกว่า
ดังนั้น ด้วยข้อดีทั้งหมดนี้ของเครื่องอัดลมแบบสกรูหรือ
ปั๊มลมสกรู
โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องอัดลมแบบลูกสูบเครื่องเก่าหรือที่กำลังจะซื้อเครื่องอัดลมเครื่องใหม่ จึงควรเปลี่ยนมาใช้เครื่องอัดลมแบบสกรูที่ให้ปริมาณลมมากกว่า ประหยัดไฟมากกว่า คุณภาพลมที่สะอาดกว่า อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และดูแลรักษาได้ง่ายกว่า
บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์
ผู้จัดจำหน่ายปั๊มลมแบบสกรู และเครื่องอัดอากาศ สำหรับโรงงานทุกประเภท คุณภาพสูง ทนทาน แข็งแรง
สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่นี่
เบอร์โ์ทร :
024532374
Line ID :
https://line.me/R/ti/p/~@deltaair
Website :
https://www.aircompdelta.com
Email :
info@adicomp-delta.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ปั๊มลมสกรูยุคใหม่ จาก ”ลม” สู่ “ข้อมูล”
ปั๊มลมลูกสูบประกอบด้วยอะไรบ้าง ?
ไขทุกข้อสงสัย Airdryer
ปั๊มลมสกรูระบบ DSV ดีกว่าอย่างไร ?
การวัดค่าประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศ
ปั๊มลมอุตสาหกรรมสำคัญอย่างไร ?
2 แนวทางประหยัดกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐ
ปั๊มลมแบบ Oil free สำคัญกับอุตสาหกรรมอย่างไร
ประวัติศาสตร์ของปั๊มลม กับต้นกำเนิดที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
ปั๊มลมสกรูเลือกยังไง ให้ใช่สำหรับคุณ
ปั๊มลมสกรู กับ ความเชื่อผิดๆ
inverter ที่ติดตั้งในปั๊มลมมีประโยชน์ยังไง ?
แค่เปลี่ยนก็ประหยัด ปั๊มลม Inverter ช่วยคุณได้
ระบบ DSV คืออะไร ? สำคัญอย่างไรกับปั๊มลม
ทำไมระบบ IOT ปั๊มลมจึงเป็นเทรนด์หลักในแวดวงอุตสาหกรรม ?
ทำไมปั๊มลมถึงเหมาะกับการเชื่อมต่อ IOT ในปัจจุบัน ?
Data analytics ข้อมูลจากปั๊มลมสำคัญกับธุรกิจอย่างไร ?
6 วิธีการดูแลรักษาเครื่องอัดลมให้ใช้งานได้ยาวนาน
รู้หรือไม่? เครื่องอัดอากาศที่คุณใช้อยู่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่
Delta Scroll Air Compressor
การเลือกขนาดถังลมและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการใช้ลมอย่างถูกต้อง
5 เหตุผลหลักที่โรงงานอุตสาหกรรมควรเลือกใช้เครื่องผลิตไนโตรเจน (Nitrogen Generator) ของทางปั๊มลมเดลต้า
กระทรวงพลังงาน จัดงาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 ร่วมขับเคลื่อนพลังงานสะอาดปี 65
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer)
เทคนิคการเลือกใช้ปั๊มลม Inverter ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
น้ำในระบบอัดอากาศเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ทำไมลมที่ได้จากเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ถึงมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ความแตกต่างระหว่างเครื่องอัดลมแบบลูกสูบและเครื่องอัดลมแบบสกรู
5 วิธีประหยัดค่าไฟ (Cost Reduction) ในระบบอัดอากาศ (Compressed Air)
การเดินท่อในระบบอัดอากาศ
การวัดประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศแบบสกรู
การเลือกใช้ขนาดเครื่องอัดอากาศประเภทสกรูและอุปกรณ์ในระบบอัดอากาศที่เหมาะสม
Mainline Filter แต่ละชนิดมีความสำคัญและแตกต่างกันอย่างไร
แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในระบบอากาศอัด
Air Dryer คืออะไร ทำไมต้องมีในระบบปั๊มลม?
Flow rate คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
การติดตั้ง Auto drain แต่ละจุดในระบบอัดอากาศมีจุดไหนบ้างและมีความสำคัญอย่างไร
ขนาดถังลม ที่ใช้สำหรับปั๊มลมสกรู สำคัญอย่างไร?
ทำไมอุตสาหกรรมอาหารจึงควรใช้น้ำมันหล่อลื่นชนิด food grade สำหรับเครื่องปั๊มลม?
Delta compressor collaboration with The institute of industrial energy
ปั๊มลมสกรูดีอย่างไร และเหมาะกับอุตสาหกรรมประเภทใดบ้าง
ระบบการทำงานของปั๊มลมสกรูแบบ 2-stage มีข้อดี/แตกต่างอย่างไรกับการทำงานของปั๊มลม single stage
DSV ช่วยคุณในเรื่องของการทราบข้อมูลเพื่อนำไปชี้วัดการประหยัดพลังงานได้อย่างไร ?
ไขข้อแตกต่างระหว่างปั๊มลมสกรูแบบ Fixed Speed และ ปั๊มลมสกรูแบบ VSD (Variable Speed Drive)
ปั๊มลมเดลต้าอะไหล่แท้ส่งตรงจากโรงงาน
รู้หรือไม่? ถังลม DELTA ได้มาตรฐานสากล ASME
ปั๊มลมสกรูแบบ two stage ประหยัดพลังงานกว่า single stage ถึง 30%
ปั้มลมสกรูเดลต้า ไม่ว่าไกลแค่ไหนก็สามารถติดตามการทำงานเครื่องได้ทุกที่ทุกเวลา!
ปั๊มลมสกรูเดลต้าใช้งานง่ายผ่านหน้าจอระบบ Touch Screen
เครื่องอัดอากาศทำงานอย่างไร?
เครื่องปั๊มลมแบบใช้น้ำมันหล่อลื่น VS. แบบไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น
การทำงานโดยรวมของถังรับอากาศในระบบอัดอากาศ
ความสำคัญของเครื่องทำลมแห้งในการรักษาอุปกรณ์ปั๊มลมของคุณ
เครื่องอัดแก๊สธรรมชาติ (BIOGAS COMPRESSOR) จำเป็นต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทนอย่างไร
คำแนะนำการเลือกซื้อปั๊มลมลูกสูบเบื้องต้น
มือใหม่ต้องรู้!! วิธีเลือกปั๊มลมที่ใช่ เหมาะกับการใช้งาน
การเช่าและการซื้อเครื่องอัดอากาศแบบไหนดีกว่ากัน?
4 สัญญาณเตือน ที่ปั๊มลมของคุณกำลังเสียค่าพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
3 วิธีดูแลปั๊มลมสกรูอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
มอเตอร์ของปั๊มลมเหมือนกันทุกแบรนด์หรือไม่?
3 เหตุผลปั๊มลมสกรูแบบ Inverter ประหยัดพลังงานมากกว่าปั๊มลมสกรูแบบ Fixed Speed
3 เทคนิคที่ทำให้ปั๊มลมของคุณประหยัดพลังงานมากกว่า 30%
4 โมเดลปั๊มลมสกรูของเดลต้าที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรม
นวัตกรรมใหม่ในการตรวจสอบ การทำงานของปั๊มลมผ่านระบบ DSV ยุคอุตสาหกรรม 4.0
เทคนิคการใช้ไนโตรเจนกับวงการอาหาร
www.adicomp-delta.com
โทรหาเรา คลิก!
x
เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเชีย)
Tel 024532374
Fax 024532349 ต่อ 208
Adicomp S.r.l
T. +39 0444 573979
F. +39 0444 809186
ส่งอีเมลหาเรา คลิก!
x
info@adicomp.com (ITALY)
info@adicomp-delta.com (THAILAND)
บริษัท เดลต้า คอมเพรสเซอร์ (เอเชีย) จำกัด
112/6 ซอยเทียนทะเล 20 ถนนบางขุนเทียนชายทะเล แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
Adicomp S.r.l.
Via Scotte,
836033 Isola Vicentina, Vicenza - ITALY
All right reserved © Delta Compressor (Asia)
DESIGN By
สอบถามเพิ่มเติม
โทรหาเรา คลิก!
แชทกับเรา คลิก!
แชทกับเรา คลิก!
ขอใบเสนอราคา คลิก!